วว. /สปอว. /APCTT จัด Workshop “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วว. /สปอว. /APCTT จัด Workshop “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

   เมื่อ : 28 เม.ย. 2567

ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)   ร่วมต้อนรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง   การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Workshop on Sustainable Municipal Solid Waste Management within the Circular Economy Concept)  โอกาสนี้ ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. และ Dr. Preeti Soni Head of the APCTT ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานพร้อมต้อนรับผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ

โดยกิจกรรมดังกล่าว  วว. ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง อว. และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asian and Pacific Centre for Transfer of Technology : APCTT) หน่วยงานภายใต้คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) จัดขึ้นระหว่างวันที่  25-26  เมษายน 2567 ณ ห้องบอลรูมซี  โรงแรมมารวยการ์เด้น  กรุงเทพฯ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการจัดการขยะ เสริมสร้างขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของสมาชิกกลุ่ม APCTT และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน โอกาสนี้  ดร.เรวดี  อนุวัฒนา  ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. กองวิเทศสัมพันธ์ และคณะนักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ และศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. เข้าร่วมเป็นเกียรติด้วย ( 25 เม.ย. 2567 )
สำหรับกรอบเนื้อหาในการประชุม ประกอบการด้วย 1 ) การพัฒนากฎระเบียบด้านขยะและเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย   2) กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน   3) มาตรฐานผลิตภัณฑ์และการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไทย   4) การจัดการขยะหลุมฝังกลบเหลือศูนย์   5) แผนงานประเทศไทยในการจัดการขยะพลาสติก  6) ธุรกิจเหมืองแร่ในเมืองกับการรีไซเคิล   7) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในชุมชน (กรณีความสำเร็จการจัดการขยะมูลฝอยวังหว้าและบ้านฉาง)   8) การจัดการขยะพลาสติกในทะเลโดยชุมชนท้องถิ่น  และ 9) การแบ่งปันความคิดและข้อเสนอแนะร่วมกัน
 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ