5 หน่วยงานแลกเปลี่ยนมุมมอง “SMRs” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ย่อส่วน

5 หน่วยงานแลกเปลี่ยนมุมมอง “SMRs” โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ย่อส่วน

   เมื่อ : 16 ก.ค. 2567

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและความพร้อมในบทบาทที่แตกต่างกัน ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนเกี่ยวกับ “เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (Small Modular Reactor; SMRs)” นวัตกรรมที่ย่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง

รศ.ดร. พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ เลขาธิการ ปส. เปิดเผยว่า จากที่ช่วงนี้เริ่มมีกระแสข่าวกระทรวงพลังงานคาดว่าจะเริ่มกระบวนการศึกษาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กหรือ SMRs ซึ่งกระบวนการศึกษาและตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี ปส. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี จึงจัดเสวนาในหัวข้อ “มองต่างมุม SMRs for net Zero” ร่วมกับ 5 หน่วยงาน เพื่อให้ความรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง ทัศนะ บทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ SMRs อาทิ แนวทางการกำกับดูแลความปลอดภัย การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การวิจัยและพัฒนา รวมถึงภาพรวมของประเทศในอนาคต ภายใต้งาน“อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ณ ห้องประชุม 208 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

การเสวนานี้มี ดร.เอกรินทร์  วาสนาส่ง เป็นผู้ดำเนินรายการ และผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย

1. รศ.ดร.พาสิทธิ์  หล่อธีรพงศ์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

2. รศ.ดร.ธวัชชัย  อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

3. นายศิริวัฒน์ เจ็ดสี ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

4. รศ.ดร. สมบูรณ์  รัศมี ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. นางสุชิน  อุดมสมพร สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย

และในวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ยังมีการให้ความรู้ “SMRs Technology for the future” ซึ่ง SMRs เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กที่สามารถผลิตกำลังกระแสไฟฟ้าที่ต่ำกว่า 300 MWe มีลักษณะเป็นโมดูลที่ทำการผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงานผู้ผลิต และในปัจจุบันมีการมีพัฒนาเทคโนโลยี SMRs มากมายหลายแบบ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับความรู้เรื่องดังกล่าวจากผู้เชี่ยวชาญจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และผู้แทนจากประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีอาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี เดนมาร์ก ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน และรัสเซีย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังเสวนาและการให้ความรู้ดังกล่าว สามารถรับชมผ่าน Facebook live: Atoms4Peace สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

 ​นอกจากนี้ ปส. ร่วมจัดนิทรรศการในโซน F โดยมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ (Small Modular Reactor; SMRs) รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของ ปส. และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ตั้งแต่วันที่ 22 – 28 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โทรศัพท์ 0 2596 7600 ต่อ 11101120

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ