เปลี่ยนเก่าเป็นใหม่ ผุดไอเดียจากเรียน สกร.ประกวดโครงงานต่อยอดเป็นอาชีพ “คนหัวใจเหล็ก Robot”
เปลี่ยนเก่าเป็นใหม่ ผุดไอเดียจากเรียน สกร.ประกวดโครงงานต่อยอดเป็นอาชีพ “คนหัวใจเหล็ก Robot”
สร้างแต่ละชิ้นไม่ซ้ำหนึ่งเดียว ไม่เคยร่างแบบบนกระดาษ เกิดจากสมองล้วนๆ โดยมีความเป็นช่างซ่อมเป็นทุนเดิม บวกกับจินตนาการเป็นผลงานมูลค่าเพิ่มอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ถูกใจคอวินเทจ ร้านกาแฟ ร้านอาหารสถานที่โรงแรมหรือตกแต่งบ้านได้หมด
นายธีรพงศ์ บุษบงศ์ (เบิร์ด) อายุ 40 ปีเป็นนักศึกษาของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอคลองลาน (สกร.) จังหวัดกำแพงเพชร หรือ กศน. โดยเรียนตั้งแต่นายธีรพงศ์ บุษบงศ์ (เบิร์ด) อายุ 40 ปีเป็นนักศึกษาของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอคลองลาน (สกร.) จังหวัดกำแพงเพชร หรือ กศน. โดยเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปัจจุบันอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.ต้น มีอาชีพช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ และเปิดคาร์แคร์ เล็กๆเปิดร้านอยู่ตรงข้ามองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่บ้านเลขที่ 346 หมู่ที่ 5 ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ได้เปิดเผยว่า ตนเองเป็นช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ และในแต่ละวันก็จะมีรถมาให้ซ่อมรวมทั้งเปลี่ยนอะไหล่รถรูปแบบต่างๆ กองเป็นเศษเหล็กเป็นจำนวนมาก อยู่ที่บ้านตนจึงเกิดความคิดที่จะเพิ่มมูลค่ามากกว่าการเก็บเศษเหล็กไปขาย จึงได้ทำสิ่งประดิษฐ์โดยศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและคำแนะนำจากครู กศน.ดัดแปลงและทำเริ่มต้นด้วยการทำโคมไฟฟ้า ตุ๊กตาหุ่นยนต์ รถถัง โต๊ะเก้าอี้ ม้านั่ง โดยตนไม่มีการออกแบบในกระดาษแต่อย่างใด ใช้จากจินตนาการความคิดของตนเองโดยคิดว่าอะไหล่ หรือเหล็กแต่ละชิ้นควรจะเป็นส่วนประกอบอะไรของรูปแบบนั้นๆ บางครั้งทำงานอย่างอื่นอยู่พอนึกแบบได้ ก็จะรีบมาลงมือทำทันทีบางชิ้นทำเพียงไม่กี่ชั่วโมงบางชิ้นก็เป็นวัน บางชิ้นทำ 2-3 วันแล้วแต่เวลาว่าง แต่ละชิ้นงานก็จะมีคนมาถามขอซื้อในราคาที่แตกต่างกันไปซึ่งตนไม่ได้คิดถึงราคาหรือมูลค่า ถ้าเห็นชอบพูดคุยกันก็จะขายให้ทันทีลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มที่รอบงานวินเทจ ตกแต่งบ้าน ตกแต่งร้านกาแฟระดับประถมศึกษาปัจจุบันอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.ต้น มีอาชีพช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ และเปิดคาร์แคร์ เล็กๆเปิดร้านอยู่ตรงข้ามองค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่บ้านเลขที่ 346 หมู่ที่ 5 ตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
ได้เปิดเผยว่าตนเองเป็นช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ และในแต่ละวันก็จะมีรถมาให้ซ่อมรวมทั้งเปลี่ยนอะไหล่รถรูปแบบต่างๆ กองเป็นเศษเหล็กเป็นจำนวนมาก อยู่ที่บ้านตนจึงเกิดความคิดที่จะเพิ่มมูลค่ามากกว่าการเก็บเศษเหล็กไปขาย จึงได้ทำสิ่งประดิษฐ์โดยศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและคำแนะนำจากครู กศน.ดัดแปลงและทำเริ่มต้นด้วยการทำโคมไฟฟ้า ตุ๊กตาหุ่นยนต์ รถถัง โต๊ะเก้าอี้ ม้านั่ง โดยตนไม่มีการออกแบบในกระดาษแต่อย่างใด ใช้จากจินตนาการความคิดของตนเองโดยคิดว่าอะไหล่ หรือเหล็กแต่ละชิ้นควรจะเป็นส่วนประกอบอะไรของรูปแบบนั้นๆ บางครั้งทำงานอย่างอื่นอยู่พอนึกแบบได้ ก็จะรีบมาลงมือทำทันทีบางชิ้นทำเพียงไม่กี่ชั่วโมงบางชิ้นก็เป็นวัน บางชิ้นทำ 2-3 วันแล้วแต่เวลาว่าง แต่ละชิ้นงานก็จะมีคนมาถามขอซื้อในราคาที่แตกต่างกันไปซึ่งตนไม่ได้คิดถึงราคาหรือมูลค่า ถ้าเห็นชอบพูดคุยกันก็จะขายให้ทันทีลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มที่รอบงานวินเทจ ตกแต่งบ้าน ตกแต่งร้านกาแฟ
สำหรับการจุดประกายความคิดเริ่มต้น นโยบายของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ให้สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร โดยว่าที่พ.ต.ดำริห์ ติยะวัฒน์ ผู้อำนวยการฯ และสถานศึกษาในสังกัด ได้ส่งเสริมการจัดการเรียนแบบ Active Learning การเรียนรู้แบบโครงงาน การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอคลองลาน โดยนายรามินทร์ มูลไธสง ครูรักษาการฯ ที่ให้ทำอย่างจริงจังคือในการเรียนของ สกร.ระดับอำเภอคลองลาน จะมีการจัดทำโครงงานส่งในทุก ๆ ภาคเรียน โดยครู กศน. ประจำตำบลสักงามได้ให้แนวคิดว่าโครงงานที่ทำอยากให้เป็นอะไรที่ใกล้ตัว ทำจากวัสดุเหลือใช้ สามารถใช้งานได้จริง และอาจจะสามารถนำมาสร้างเป็นอาชีพได้ต่อ ตนจึงเห็นว่ามีเศษเหล็กเหลือใช้จากการซ่อมมอเตอร์ไซต์ น่าจะสามารถนำมาทำชิ้นงานได้ จึงได้จัดทำผลงานนาฬิกาโคมไฟแผงโซล่าเซลล์รีไซเคิล ที่มีแผงรับแสงอาทิตย์แบบโซล่าเซลล์เข้าประกวดซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมาและสร้างความภาคภูมิใจและเกิดแรงผลักดันให้ใช้เวลาว่างสร้างสรรค์ผลงานเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งนางสาวเพ็ญพันธุ์ ประดับสุข ครู กศน.ตำบล และนางสาวศุภางค์ ตีคำ ข้าราชการครูเป็นที่ปรึกษา ได้ให้คำแนะนำ ในส่วนของรูปแบบความต้องการเพิ่มเติมแก่ตนจึงได้สร้างผลงานอย่างต่อเนื่องขอบคุณครู สกร.ระดับอำเภอคลองลาน เป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้โอกาสแก่ตนเองทั้งความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนอย่างมาก